เป๊ป (PEP) ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ต้องทานให้เร็วที่สุดภายในเวลา 72 ชั่วโมง เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
ใครบ้างที่ควรรับยา PEP
Table of Contents
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
- ผู้ที่ถุงยางอนามัยฉีกขาด รั่ว หรือหลุดออก ระหว่างมีเพศสัมพันธ์
- ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกข่มขืน หรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ
- ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- บุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกเข็มทิ่มตำระหว่างปฏิบัติหน้าที่
วิธีทานยา PEP
การทานยาเป๊ป (PEP) จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสเชื้อมา หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี โดยกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 28 วัน หลังจากกินยาครบ แพทย์จะนัดคนไข้มาเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV อีกครั้ง
ขั้นตอนการรับ PEP
- ก่อนที่ผู้รับบริการแพทย์จะซักประวัติเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพิจารณาว่าจำเป็นต้องรับยาหรือไม่
- แพทย์จะสั่งตรวจเอชไอวี ตรวจไวรัสตับอักเสบบี การทำงานของตับและไตก่อนรับยาเป๊ป (PEP)
- หากติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว จะไม่สามารถใช้ยาเป๊ป (PEP) ได้
- หลังรับประทานยาครบ 28 วัน ตรวจเอชไอวีซ้ำ 1 เดือน และ 3 เดือน
- งดบริจาคเลือด และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
สูตรยา PEP ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?
สูตรยาเป๊ป (PEP) ที่แนะนำ ประกอบด้วยยา 3 ตัวรวมในเม็ดเดียว ได้แก่
- Tenofovir (TDF) 300 mg
- Emtricicabine (FTC) 200 mg
- dolutegravir (DTG) 50 mg
**นอกจากนี้ยังมีสูตรยาอื่นๆอีกซึ่งแพทย์จะปรับยาตามเงื่อนไขของผู้รับบริการแต่ละราย**
ผลข้างเคียงของการทาน PEP
ส่วนใหญ่ยาเป๊ป (PEP) มักจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายรุนแรง เนื่องจากยามีความปลอดภัยต่อร่างกาย แต่ในกรณีของผู้ที่มีผลข้างเคียงจะมีอาการ อ่อนเพลีย ท้องเสีย คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ อาการข้างเคียงต่างๆ มักจะเป็นเพียงช่วงแรกของการทานยาและอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง แต่หากอาการรุนแรงมากสามารถแจ้งแพทย์ผู้ดูแลเพื่อให้การรักษาและตรวจเพิ่มเติม
ความแตกต่างระหว่าง PEP และ PrEP
- PEP คือ ยาป้องกัน หลัง การสัมผัสเชื้อ HIV ทานภายใน 72 ชั่วโมง ทานวันละ 1 เม็ด ติดต่อกัน 28 วัน
- PrEP คือ ยาป้องกัน ก่อน การสัมผัสเชื้อ HIV ทานวันละ 1 เม็ด ให้ตรงเวลา
อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เป๊ป (PEP) สามารถป้องกันเชื้อ HIV หลังจากสัมผัสเชื้อได้ แต่เป๊ป (PEP) ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์